ครอบครัวของบังอร


วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางเทคโนโลยีการศึกษา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางเทคโนโลยีการศึกษาเทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84) คือ1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไปแนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางเทคโนโลยีการศึกษาความหมายของเทคโนโลยีเทคโนโลยี (Technology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือTech = Art ในภาษาอังกฤษ Logos = A study of ดังนั้น คำว่า เทคโนโลยี จึงหมายถึง A study of art ซึ่งได้มีผู้แปลความหมาย สรุป ได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนา และปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบ โดยสามารถนำไปใช้ในสาขาต่าง ๆ กัน และเรียกชื่อไปตามสาขาที่ใช้เช่น - เทคโนโลยีการเกษตร: การคิดค้นวิธีการเครื่องมือ ปัจจัยในการผลิต ทางการเกษตร- เทคโนโลยีการคมนาคมขนส่ง: การคิดค้นเกี่ยวกับยานพาหนะ การเดินทาง การขนส่งความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาก็คือ ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้นเทคโนโลยี แบ่ง ได้เป็น 2 ประการ ดังนี้1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์โทรทัศน์ ฯลฯมาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ หมายถึง การนำวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษาการสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเน้นเรื่องเทคนิคที่เป็นวิธีการ และกระบวนการเรียนการสอนมากกว่าวัสดุ และเครื่องมือhttp://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01005.aspลักษณะของนวัตกรรมสิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application) 3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01006.aspแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษากับการศึกษาไทยมี 3 ประการคือ1.คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง2.คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าสิ่งแวดล้อม3.คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทยสาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาเนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆนวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ส่งเสริมกระบวนการทางการส฿กษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การสอนแบบโปรแกรม ศูนย์การเรียน เป็นต้นแนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้คือ ใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญาพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาที่มา เอกสารประกอบการสอน อ.มงคล ภวังค์คนันท์ อาจารย์ประจำโปรแกรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรีที่มา : เขียนโดย kungfirefly เทคโนโลยีมี 4 ระดับ ได้แก่1. เทคโนโลยีระดับเบื้องต้น สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ หรือสามารถพัฒนาขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ตู้เย็น โทรศัพท์ เป็นต้น2. เทคโนโลยีระดับกลาง มักต้องซื้อจากต่างประเทศ แต่สามารถพัฒนาได้ภายในประเทศ หากมีแผนการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เช่น โทรทัศน์ เครื่องเสียง เป็นต้น3. เทคโนโลยีระดับสูง ต้องซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ แต่สามารถใช้งานโดยคนไทย หากพัฒนาในประเทศจะต้องซื้อเทคโนโลยีแกนจากต่างประเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น4. เทคโนโลยีระดับสูงมาก ต้องซื้ออุปกรณ์ และทักษะการใช้งานจากต่างประเทศ เช่น ระบบคมนาคมสื่อสารขนาดใหญ่ประโยชน์และโทษของเทคโนโลยี สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. : 80) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความจำเป็นและเพิ่มความสำคัญเป็นลำดับมากขึ้นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์แม้ว่าการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเอื้ออำนวยในด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายและอายุยืนนานขึ้น หากการการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ โดยมิได้พิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบและกว้างไกลแล้ว ย่อมเกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและสมดุลทางธรรมชาติอย่างมหันต์ เมื่อมองไปข้างหน้า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรช่วยเตรียมให้มนุษย์มีความพร้อมที่จะเผชิญกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ข้อที่พึงตระหนัก คือ การดำรงชีวิตของมนุษย์มิใช่เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากธรรมชาติ หรือการทำตนอยู่เหนือธรรมชาติ หากแต่มนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติที่จะดำรงชีวิตอย่างสันติร่วมกับผู้อื่น กับสังคมวัฒนธรรม และกับธรรมชาติ ดังนั้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน จะต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการทางด้านความรู้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บุคคลในสังคม รู้จักวิธีการคิดอย่างมีเหตุผล มีวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีระบบ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญาซึ่งวิธีการคิดนั้นเป็นวิธีเดียวกันกับที่ใช้อยู่ในกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มา : http://arc.rint.ac.th/center/pongsak/e_%20...%20it4_2.html

ไม่มีความคิดเห็น: